“เพาะพันธุ์ดี NT YOUTH CLUB”เทคโนโลยีดิจิทัล ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

หลังจากที่มีการควบรวม บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT รัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) รับผิดชอบภารกิจในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและโทรคมนาคม ยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม และเศษฐกิจของประเทศ

นอกเหนือจากการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและบริการดิจิทัลโทรคมนาคม NT ยังได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการดิจิทัลโทรคมนาคม ผ่านโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมของ NT ในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยหลายโครงการด้าน Corporate Social Responsibility (CSR) รวมถึงการตอบสนองความต้องการของพันธมิตรและคู่ค้าควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม (Creating shared Value : CSV) ซึ่งเป็นการส่งมอบคุณค่าให้แก่สังคมโดยนำศักยภาพขององค์กรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสร้างคุณประโยชน์แก่ชุมชน สังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างโอกาสการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม  สนับสนุนความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีแนวทางในการดำเนินงานที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ (Economic)  ด้านสังคม (Social) และ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) มุ่งเน้นที่จะเพิ่มโอกาสในการใช้ดิจิทัลโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ด้านเกษตรกรรม สาธารณสุข การศึกษา และ ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

โครงการ

“เพาะพันธุ์ดี NT YOUTH CLUB”

เป็นการยกระดับในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการนำความสามารถพิเศษหลักขององค์กรในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้าน ICT และเทคโนโลยีดิจิทัล IOT เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ของเยาวชนและชุมชน โดยให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีเกี่ยวกับการทำเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming) และนำไปต่อยอดการพัฒนาคุณภาพผลผลิต ใช้เทคโนโลยีสู่การซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ สร้างรายได้ แก่ครอบครัว และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ชุมชน นับเป็นอีกหนึ่งโครงการคุณภาพด้าน CSR ที่เข้าถึงและเป็นเครื่องมือสนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในโครงการด้านความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ NT ตามแผนงานหลัก (CSR after process) ตามแผนแม่บทความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปี 2564 – 2568 ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบัน มีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 72 แห่งทั่วประเทศ โดยในปี 2564 มีแผนการดำเนินงานเพิ่มชุมชนใหม่อีก 4 แห่ง

Leave a Comment