รีวิว Vivo Y50 สมาร์ทโฟน 4 กล้องน้องใหม่ จอสวยใหญ่ สเปกแรงลื่นไหล แบตจุใจ ในราคาไม่ถึง 8 พันบาท :: Thaimobilecenter.com

สมาร์ทโฟน 4 กล้องน้องใหม่ พร้อมจอสวยใหญ่คมชัด สเปกแรงลื่นไหล และแบตอึดจุใจ ในราคาไม่ถึง 8 พันบาท ด้วยกล้อง Super Wide-Angle Quad Camera, จอ Ultra O Screen FHD+ 6.53 นิ้ว, ชิปเซ็ต Snapdragon 665, ROM 128GB+RAM 8GB, แบตเตอรี่ 5000 mAh และฟีเจอร์สดใหม่ บนบอดี้ 3D Micro Arc ไล่เฉดสวยเล่นแสง ในราคาเพียง 7,999 บาท

26 พฤษภาคม 2020 - แบรนด์ยอดนิยมอย่าง Vivo เพิ่งจะเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นไฮไลท์อย่าง Vivo V19 ไปสดๆ ร้อนๆ และมีเสียงตอบรับที่ค่อนข้างดีทีเดียว และล่าสุดในวันนี้ Vivo ก็ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ออกมาตีตลาดมือถือราคาต่ำกว่าหมื่นอีกรุ่น ซึ่งก็คือ Vivo Y50 ในราคาเบาๆ ที่ 7,999 บาท

Vivo Y50 เป็นสมาร์ทโฟนระดับกลางที่โดดเด่นในเรื่องของดีไซน์ และความอึดของแบตเตอรี่ โดยมาในบอดี้ขอบโค้งมนเคลือบพื้นผิวเงางามแบบ Dazzling 3D Colors สวยสะดุดตา พร้อมกับแบตเตอรี่ความจุสูงถึง 5,000 mAh ที่พร้อมจะลุยไปกับเราได้ทั้งวันโดยไม่หยุดชาร์จ ตัวเครื่องมีหน้าจอแบบเจาะรูกล้องหน้าแบบ Ultra O Screen ขนาดใหญ่เต็มตา 6.53 นิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ด้านหน้าถึง 90.77% ในอัตราส่วนภาพ 19.5:9 คมชัดระดับ FHD+ (2340 × 1080 พิกเซล) ที่น่าสนใจคือสามารถแสดงขอบเขตสี DCI-P3 ได้ 100% ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนักในสมาร์ทโฟนระดับกลาง ในส่วนของสเปกนั้น Vivo Y50 มากับชิปเซ็ตประมวลผล Qualcomm Snapdragon 665 ซึ่งเป็นชิปเซ็ตระดับกลาง พร้อมทั้งให้ RAM มาแบบจุใจถึง 8GB จึงรองรับการใช้งานทั่วไปได้แบบลื่นๆ ไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม หรือถ่ายรูป สำหรับหน่วยความจำภายในก็มีมาให้กำลังดีที่ 128GB สามารถเก็บรูปภาพ ไฟล์ต่างๆ รวมถึงติดตั้งแอปพลิเคชันและเกมได้โดยไม่ต้องกังวลว่าพื้นที่จะไม่พอ นอกจากนี้ Vivo ยังได้ใส่เทคโนโลยี Multi-Turbo 3.0 เอาไว้ภายในของสมาร์ทโฟนรุ่นนี้ด้วย ซึ่งจะช่วยจัดระเบียบการประมวลผล ให้สามารถเรียกใช้งานแอปพลิเคชั่นได้เร็วยิ่งขึ้น และมี AI ที่วิเคราะห์ปัญหาของระบบได้ล่วงหน้า พร้อมทั้งแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที สำหรับการถ่ายรูป Vivo Y50 มีชุด กล้องหลัง 4 ตัว (Quad Camera) ที่ประกอบด้วยกล้องหลัก ( Wide ) 13 ล้านพิกเซล, กล้อง Super Wide Angle 8 ล้านพิกเซล, กล้อง Macro 2 ล้านพิกเซล และกล้อง Bokeh 2 ล้านพิกเซล จึงครอบคลุมการถ่ายรูปทุกมุมมองทั้งแบบมุมกว้าง, จ่อประชิด และหน้าชัดหลังละลาย พร้อมด้วยกล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล โดยจุดเด่นของกล้อง Vivo Y50 อยู่ที่ Super Night Mode หรือโหมดถ่ายภาพกลางคืนที่ใช้ได้ทั้งกล้องหน้า และกล้องหลัง และฟีเจอร์ Ultra Stable Video ซึ่งเป็นระบบกันสั่นขณะถ่ายวิดีโอ ช่วยให้การถ่ายรูปเป็นเรื่องง่าย และมีอิสระยิ่งกว่าเดิม ทั้งหมดนี้เป็นไฮไลท์เพียงส่วนหนึ่งของ Vivo Y50 เท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปชมความสามารถเต็มๆ ของสมาร์ทโฟนรุ่นนี้ใน รีวิว Vivo Y50 กันเลยดีกว่าครับ

รูปลักษณ์ภายนอกตัวเครื่อง และการออกแบบดีไซน์

Vivo Y50 มีหน้าจอแสดงผลประเภท IPS LCD แบบ Ultra O Screen อัตราส่วน 19.5:9 กว้าง 6.53 นิ้ว มีความละเอียดสูงสุดระดับ FHD+ (2340 x 1080 พิกเซล) พื้นที่แสดงผลครอบคลุมพื้นที่ 90.77% ของตัวเครื่องด้านหน้า และมีการเจาะรูฝังกล้องหน้า ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ขนาดรูรับแสง f/2.0 ที่มุมซ้ายบน พร้อมทั้งมีการติดฟิล์มกันรอยหน้าจอมาให้จากโรงงาน

ตัวเครื่อง Vivo Y50 ได้รับการออกแบบให้มีความโค้งมนรอบด้าน (3D Micro Arc) และมีน้ำหนักเบา ถือใช้งานสะดวก ฝาหลังไล่เฉดสีโทนเข้ม-อ่อน ซึ่งจะให้สีที่แตกต่างกันไปตามมุมของแสงที่ตกกระทบ พร้อมทั้งเคลือบผิวเงาสะท้อนแสง ดูมีมิติ สำหรับเครื่องที่เรานำมารีวิวในครัั้งนี้เป็น สีน้ำเงินอมม่วง Iris Blue

กล้องหลังของ Vivo Y50จัดวางอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามเทรนด์ที่กำลังนิยมกันในปัจจุบันโดยเป็นชุดกล้อง 4 ตัว (AI Quad Camera) ประกอบด้วย :

- กล้องหลัก ( Wide ) ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.2 - กล้อง Super Wide Angle ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มุมมองกว้างสุด 120 องศา พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.2 - กล้อง Macro ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 4 เซนติเมตร พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.4 - กล้อง Bokeh ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.4

ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง และปุ่มปรับระดับเสียงจะอยู่ที่ด้านขวาของตัวเครื่อง ส่วนด้านซ้ายมีเพียงช่องใส่ซิมการ์ด

Vivo Y50 ใช้พอร์ตเชื่อมต่อ USB-C สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่และโอนถ่ายข้อมูล โดยตัวเครื่องมีแบตเตอรี่ขนาด 5,000 mAh และมีช่องลำโพง, ไมโครโฟน และช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร ส่วนด้านบนไม่มีโมดูลใดๆ และไม่มีไมค์ตัดเสียงรบกวน

ถาดใส่ซิมของ Vivo Y50 เป็นแบบ Triple-Slot ที่สามารถใส่ซิมการ์ดแบบ nanoSIM ได้ 2 ซิม พร้อมกับการ์ด microSD ได้ สูงสุด 256 GB

สำหรับอุปกรณ์ที่มีมาให้ในกล่องได้แก่ เคสซิลิโคนใส, เข็มถอดถาดซิมการ์ด, อแดปเตอร์ชาร์จแบตเตอรี่, สาย USB-C, และคู่มือการใช้งานเบื้องต้น ไม่มีหูฟังแถมมาให้

เปิดเครื่อง พร้อมทดสอบการใช้งานด้านซอฟต์แวร์

หากรู้สึกเบื่อกับหน้าจอเดิมๆ เราสามารถเข้าไปยัง ธีม เพื่อดาวน์โหลดภาพพื้นหลัง, ธีม และรูปแบบอักษรใหม่ๆ ได้ มีทั้งที่ดาวน์โหลดฟรี และแบบเสียเงิน โดยจะมีราคาแจ้งไว้ชัดเจนทุกรายการ

Vivo Y50 มีแอปพลิเคชัน i Manager สำหรับปรับปรุงสมรรถนะของตัวเครื่องให้รวดเร็วอยู่เสมอ โดยสามารถล้างข้อมูลที่ไม่จำเป็น, สแกนไวรัส, ตรวจสอบการใช้ข้อมูลเน็ต, จัดการแอปพลิเคชัน และอื่นๆ  เมื่อเปิดแอปขึ้นมา ตัวแอปจะตรวจสอบสถานะการทำงานของระบบทันที หากผลการประเมินต่ำกว่า 100 เราสามารถสั่งให้ระบบจัดการโดยอัตโนมัติได้ในปุ่มเดียว ซึ่งใช้เวลาจัดการไม่นาน

ในเมนู ล้างพื้นที่ จะแสดงการใช้งานหน่วยความจำภายใน และตัวเลือกในการล้างข้อมูลที่ไม่จำเป็น เมื่อกดปุ่ม ล้างข้อมูล ทั้งหมด ระบบจะลบไฟล์ขยะทั้งหมดทันที การลบไฟล์เหล่านี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตัวเครื่องแต่อย่างใด

ในเมนู การตรวจสอบความปลอดภัย จะเป็นการสแกนหาช่องโหว่ในระบบและมัลแวร์ต่างๆ สามารถตั้งค่าให้ตรวจสอบอัตโนมัติได้ทุกๆ 7, 15 และ 30 วัน โดยจะตรวจสอบในเวลากลางคืนเพื่อไม่ให้รบกวนการใช้งานระหว่างวัน

เมนู ตัวจัดการแอป เป็นเมนูที่จะช่วยให้เราอัปเดต, ถอนการติดตั้ง และกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของแอปพลิเคชันในเครื่องได้ โดยรวมทุกอย่างเอาไว้ในที่เดียว เพื่อให้จัดการได้ง่าย

นอกจากนี้ หากเลื่อลงมาด้านล่างจะพบเมนูอื่นๆ อีก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย

เมนู ป้องกันการรบกวน เป็นฟังก์ชั่นสำหรับการบล็อก เบอร์แปลก แและข้อความ SMS จากหมายเลขที่ไม่รู้จักโดยอัตโนมัติ หรือเลือกบล็อกเฉพาะบางหมายเลขได้ด้วยการใส่ไว้ในบัญชีดำ

เมนู สุขภาวะดิจิทัล จะบันทึกระยะเวลาการใช้งานโทรศัพท์ในแต่ละวัน พร้อมทั้งแยกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการใช้งาน ทำให้เรามองเห็นภาพรวมการใช้งานของเราได้อย่างชัดเจน ช่วยให้เราควบคุมระยะการใช้โทรศัพท์ได้ง่ายขึ้น

เมนู แบตเตอรี่ จะบอกสถานะปัจจุบันของแบตเตอรี่ และมีตัวเลือกให้เปิดใช้โหมดประหยัดพลังงาน

เมนู การระบายความร้อนโทรศัพท์ จะช่วยแก้ปัญหาความร้อนของตัวเครื่องเบื้องต้น ด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิของ CPU และวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เครื่องร้อน พร้อมทั้งแนะนำการตั้้งค่าเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้เราอย่างเสร็จสรรพ

เมนู โคลนแอป สามารถแยกแอปพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์ค เช่น Facebook หรือ LINE ให้มี 2 ตัวได้ ทำให้เราล็อกอินได้ 2 บัญชีในเครื่องเดียว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการแยกบัญชีโซเชียลส่วนตัว และบัญชีที่ใช้ทำงานออกจากกัน แต่ไม่ต้องการพกโทรศัพท์ 2 เครื่อง

เมนู การเข้ารหัสแอป จะทำให้เราล็อคแอปพลิเคชันได้ ซึ่งจะต้องยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่าน, รอยนิ้วมือ หรือใบหน้าทุกครั้งจึงจะเปิดใช้งานได้ ส่วนเมนู ซ่อนแอป จะทำให้เราเลือกซ่อนแอปพลิเคชันจากหน้าจอหลักได้ แอปที่ถูกซ่อนจะไม่ทำงานเบื้องหลัง และไม่แจ้งเตือนใดๆ เราสามารถเรียกแอปที่ถูกซ่อนขึ้นมาได้ด้วยการใช้ 2 นิ้วปัดขึ้นบนหน้าจอหลัก แต่ทั้งนี้แอปที่ถูกซ่อนจะไม่ได้ถูกล็อค สามารถเปิดใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องยืนยันตัวตนใดๆ

เมนู ตู้เซฟไฟล์ เป็นพื้นที่นิรภัยสำหรับเก็บไฟล์ในเครื่อง ไฟล์ที่ถูกเก็บไว้ในเซฟจะไม่สามารถมองเห็น และเข้าถึงได้ด้วยวิธีปกติ เสมือนว่าไฟล์นั้นไม่มีอยู่ โดยจะเข้าถึงไฟล์ได้ผ่านเมนูตู้เซฟเท่านั้น ซึ่งจะต้องยืนยันตัวตนก่อนเสมอ

นอกจากนี้ Vivo Y50 ยังมี โหมดมอเตอร์ไซค์ ที่จะปฏิเสธสายโทรเข้าและปิดการแจ้งเตือนทั้งหมดเพื่อให้เรามีสมาธิในการขับขี่ สามารถแสดงการนำทางของ Google Maps บนหน้าจอในโหมดนี้ได้

สำหรับใครที่มีเด็กๆ ในครอบครัว และต้องแบ่งโทรศัพท์ให้เล่น โหมด สำหรับเด็ก เป็นโหมดที่ช่วยให้เรากำหนดการใช้งาน และการเข้าถึงแอปพลิเคชันต่างๆ ในเครื่องได้ ซึ่งกำหนดได้ทั้งระยะเวลาในการใช้งาน, ปริมาณเน็ตที่ใช้ และเลือกแอป หรือไฟล์ที่อนุญาตให้เด็กเข้าถึง การแก้ไขการตั้งค่าใดๆ จะต้องยืนยันตัวตนทุกครั้ง จึงไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะแก้ไขการตั้งค่าหรือออกจากโหมดนี้ได้เอง ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กใช้โทรศัพท์ได้อย่างครบวงจร

Vivo Y50 มีตัวเลือกในการแต่งภาพเยอะมาก และแต่งได้ละเอียดไม่ว่าจะเป็นการปรับสัดส่วนรูปร่าง, ใบหน้า, ความขาวเนียน, เติมลิปสติก, เติมคิ้ว เรียกได้ว่าถ่ายรูปและแต่งรูปจนจบได้ในเครื่องเดียว ไม่จำเป็นต้องใช้แอปพลิเคชันแยก หรือแต่งในคอมพิวเตอร์ให้ยุ่งยาก

ด้านความบันเทิง Vivo Y50 มีแอปพลิเคชันสำหรับฟังเพลงติดตั้งมาให้แล้ว ซึ่งก็มีอินเทอร์เฟซการใช้งานที่เข้าใจได้ไม่ยาก และมีฟังก์ชันการใช้งานครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นตั้งค่าการสับเปลี่ยนเพลง, วนซ้ำ, ดูเพลย์ลิสต์, ตั้งเป็นเสียงเรียกเข้า เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ยังมีเอฟเฟกต์เสียง DeepField ที่ช่วยเพิ่มมิติให้กับเสียงเพลง, เพิ่มเบส และปรับ Equalizer ได้

หากใช้หูฟัง จะสามารถปรับโปรไฟล์เสียงให้เหมาะกับหูตามอายุได้ด้วย

สำหรับการเล่นไฟล์วิดีโอก็มีเครื่องเล่นของตัวเองติดตั้งมาให้แล้วเช่นกัน โดยมีปุ่มลัดในการล็อกการสัมผัสหน้าจอ (รูปแม่กุญแจทางซ้าย), ภ่ายสกรีนช็อต (ปุ่มสี่เหลี่ยมทางขวา), เปิดหน้าตางลอย (ไอคอนสี่เหลี่ยมมุมซ้ายล่าง) และ แผงควบคุมทั่วไป ส่วนการตั้งค่าอื่นๆ จะอยู่ที่ไอคอนไข่ปลา 3 จุดมุมขวาบน

ในเมนูการตั้งค่าเพิ่มเติม จะมีให้ปรับความสว่างของจอ, ปรับสัดส่วนภาพ, ปรับความเร็วในการเล่น และเปิด/ปิดซับไตเติ้ล (เฉพาะวิดีโอที่มีซับไตเติ้ลติดมา)

การแสดงภาพวิดีโอทั่วไปที่มีอัตราส่วน 16:9 จะเหลือขอบดำด้านซ้ายและขวาเอาไว้

ถ้าเลือก ตัด ภาพจะขยายถมพื้นที่สีดำจนหมด โดยยังคงสัดส่วนเดิมไว้และมีบางส่วนล้นออกไปจากจอ

ถ้าเลือก ยืด ภาพจะยืดออกจนเต็มจอ ไม่มีส่วนที่ล้นจอ แต่สัดส่วนของภาพจะเพี้ยนไปจากเดิม

ในการเล่นวิดีโอแบบหน้าต่างลอย จะแสดงเป็นหน้าต่าง Pop-Up เหนือแอปพลิเคชันอื่นบนหน้าจอ สามารถเลื่อนไปมาได้อย่างอิสระ

สำหรับการเล่นเกม Vivo Y50 มี Ultra Game Mode ช่วยเร่งประสิทธิภาพของตัวเครื่องขณะเล่นเกม และปิดกัเนการแจ้งเตือนต่างๆ สามารถตั้งค่าแยกแต่ละเกมได้อย่างละเอียด และเพิ่มแอปพลิเคชันที่ไม่ใช่เกมเข้ามาใน Ultra Game Mode เพื่อใช้ฟีเจอร์เหล่านี้ได้ด้วย

ขณะเล่นเกม เราสามารถเรียกเมนูลัดออกมาได้ด้วยการลากนิ้วจากขอบจอด้านซ้ายไปทางขวา เพื่อตั้งค่าการปิดกั้นระหว่างเล่นเกมได้อย่างรวดเร็ว

ในการทดสอบประสิทธิภาพการเล่นเกมของ Vivo Y50 ทางทีมงานได้เลือกทดสอบด้วยเกม 3 เกม ได้แก่ RoV และ PUBG Mobile และ Honkai Impact 3rd โดยตั้งค่ากราฟิกของตัวเกมไว้ดังนี้ :

การตั้งค่าของเกม RoV

การตั้งค่าของเกม Honkai Impact 3rd

การตั้งค่าของเกม PUBG Mobile

หลังจากที่เล่นเกมทั้ง 3 เกมอย่างต่อเนื่องประมาณ 2 ชั่วโมง พบว่า Vivo Y50 รับมือกับทุกเกมได้ดีในระดับหนึ่ง เกมที่ต้องการสเปกไม่สูงมากอย่าง RoV สามารถเปิดโหมดเฟรมเรตสูงและรักษาเฟรมเรตได้นิ่งตลอดเกม แต่มีอาการค้างเล็กน้อยเมื่อโหลดเข้าเกม ส่วนเกม PUBG Mobile ทำเฟรมเรตได้ไม่สูงนักแม้จะเลือกเปิดเฟรมเรตสูงก็ตาม แต่ก็ลื่นพอที่จะเล่นได้อย่างไม่ติดขัด ส่วนเกมที่มีแอคชั่นรวดเร็วอย่าง Honkai Impact 3rd สามารถเล่นได้แบบลื่นๆ ไม่มีกระตุกระหว่างเล่น บังคับตัวละครได้รวดเร็วดั่งใจ ตัวเครื่องมีความร้อนน้อยมาก และแบตเตอรี่ลดลงไปประมาณ 10% โดยรวมถือว่า Vivo Y50 เล่นเกมได้ดีพอสมควร และเล่นได้นานโดยที่เครื่องไม่ร้อนครับ

Vivo Y50 ใช้ชิปเซ็ตประมวลผล Qualcomm Snapdragon 665 แบบ 8-แกน (Octa-Core) ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงสุดที่ 2.0 GHz มีหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) Adreno 610 , หน่วยความจำแรม RAM ขนาด 8 GB และหน่วยความจำภายใน (ROM) ขนาด 128 GB

สำหรับเซ็นเซอร์ในเครื่อง Vivo Y50 นั้นประกอบด้วย Accelerometer Sensor, Light Sensor, Orientation Sensor, Proximity Sensor, Gyroscope Sensor, Sound Sensor และ Magnetic Sensor ส่วนหน้าจอแสดงผลรองรับการสัมผัสได้พร้อมกันสูงสุด 10 จุด

Vivo Y50 วัดค่า benchmark จากแอปพลิเคชัน GeekBench 5 ในส่วน Single-Core ได้ 313 คะแนน และ Multi-Core 1377 คะแนน และจากแอปพลิเคชัน PCMark (Work 2.0) ได้ 6275 คะแนน

และจากแอปพลิเคชัน 3DMark แบบ Open GL ES 3.1 ได้ 1136 คะแนน และ Vulkan 1078 คะแนน

ระบบ GPS สามารถจับสัญญาณดาวเทียมในที่กลางแจ้งได้ดี โดยจากภาพตัวอย่างจะเห็นว่าจับสัญญาณดาวเทียมได้ทั้งหมด 35 ดวง และมีความแม่นยำในระดับบวกลบ 4 เมตร แต่อย่างไรก็ดีคุณภาพของสัญญาณดาวเทียม GPS ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสภาพอากาศด้วย ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และช่วงเวลา

การใช้งานกล้องสำหรับถ่ายภาพ และวิดีโอ

การถ่ายรูปเป็นจุดเด่นของสมาร์ทโฟน Vivo มายาวนาน ในรุ่น Vivo Y50 นี้ก็เช่นกัน โดยมีระบบ AI ระบุฉากที่จะวิเคราะห์และแต่งรูปให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ และรองรับการถ่ายรูปครบทั้งมุมกว้าง, มาโคร และโบเก้ พร้อมด้วยลูกเล่นมากมาย เช่นเอฟเฟกต์บิวตี้ที่ปรับแต่งได้อย่างละเอียด และโหมดกลางคืน Super Night Mode เป็นต้น

โดยกล้องหลังของ Vivo Y50 เป็นชุดกล้อง 4 ตัว (AI Quad Camera) ประกอบด้วย :

- กล้องหลัก ( Wide ) ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.2 - กล้อง Super Wide Angle ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มุมมองกว้างสุด 120 องศา พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.2 - กล้อง Macro ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 4 เซนติเมตร พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.4 - กล้อง Bokeh ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.4

ในโหมด ถ่ายภาพ (โหมดอัตโนมัติ) จะมีเมนูให้เปิดใช้มุมมองกว้างพิเศษ (Super Wide Angle), โบเก้ และ Super Macro ได้ ซึ่งโหมดโบเก้จะทำให้เราถ่ายรูปแบบหน้าชัดหลังเบลอได้กับตัวแบบทุกประเภท ไม่จำเป็นต้องเป็นคน และเรายังปรับระดับความเบลอของฉากหลังได้ด้วย ทั้งนี้ในการถ่ายแบบมุมกว้างพิเศษ จะจับภาพกว้าง 108 องศา เพื่อหลีกเลี่ยงภาพเบี้ยวบริเวณขอบ

โหมด กลางคืน หรือ Super Night Mode ช่วยให้เราถ่ายรูปในที่แสงน้อยได้สว่างชัดเจนขึ้นโดยไม่ต้องใช้แฟลชหรือขา ตั้งกล้อง โดยจะใช้เวลาประมวลผลภาพนานขึ้นเล็กน้อย (ประมาณ 2 วินาที)

โหมด ภาพคน สำหรับถ่ายรูป Portrait แบบหน้าชัดหลังเบลอ ปรับบิวตี้ได้ 100 ระดับ ซึ่งปรับได้อย่างละเอียดตั้งแต่สีผิวไปจนถึงขนาดรูปทรงของอวัยวะบนใบหน้า มีไกด์แนะนำการโพสท่า และถ่ายในมุมมองกว้างพิเศษได้

ในโหมด มือโปร เราสามารถตั้งค่ากล้องได้ด้วยตนเอง ได้แก่ค่า ISO (สูงสุด 3200), Shutter Speed (1/12000-16s), ชดเชยแสงได้สูงสุด ±3 และ White Balance (2300K-7500K) เหมาะสำหรับผู้ที่มีทักษะการถ่ายรูปอยู่แล้ว

กล้องหน้าของ Vivo Y50 มีความละเอียด 16 ล้านพิกเซล มีขนาดรูรับแสง f/2.0 มีฟีเจอร์บิวตี้ให้ปรับเหมือนกับกล้องหลัง, เปิดใช้เอฟเฟกต์ละลายหลังแบบโบเก้ได้ แต่ปรับระดับไม่ได้ และมีโหมดกลางคืนสำหรับเซลฟี่ในที่มืดให้ใช้งานด้วย

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหลัง 4 ตัว ความละเอียด 13+8+2+2 ล้านพิกเซล

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ มุมมองกว้างพิเศษ (Super Wide Angle)

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ แบบมาโคร (Super Macro)

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ แบบมาโคร (Super Macro)

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ แบบมาโคร (Super Macro)

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ มุมมองกว้างพิเศษ (Super Wide Angle)

ถ่ายด้วยโหมด Portrait ไม่เปิดเอฟเฟกต์บิวตี้

ถ่ายด้วยโหมด Portrait เปิดบิวตี้ระดับ 50 (กลาง)

ถ่ายด้วยโหมด Portrait เปิดบิวตี้ระดับ 100 (สูงสุด)

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ

ถ่ายด้วยโหมดกลางคืน

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ

ถ่ายด้วยโหมดกลางคืน

ถ่ายด้วยโหมดอัตโนมัติ

ถ่ายด้วยโหมดกลางคืน

ถ่ายเซลฟี่ด้วยโหมด Portrait ไม่เปิดบิวตี้ เปิดใช้เอฟเฟกต์โบเก้

ถ่ายเซลฟี่ด้วยโหมด Portrait เปิดบิวตี้ระดับ 50 (กลาง) และ เปิดใช้เอฟเฟกต์โบเก้

ถ่ายเซลฟี่ด้วยโหมด Portrait เปิดบิวตี้ระดับ 100 (สูงสุด) และ เปิดใช้เอฟเฟกต์โบเก้

ถ่ายเซลฟี่ด้วยโหมด Super Night ในเวลากลางคืน

สรุปผลการทดสอบของ Vivo Y50

ในภาพรวมนับว่า Vivo Y50 เป็นสมาร์ทโฟนที่สดใหม่ครบเครื่อง ในราคาเป็นมิตร โดยในการใช้งานจริงจัดว่าเป็นสมาร์ทโฟนระดับกลางที่น่าใช้อีกรุ่นหนึ่ง เริ่มจากตัวเครื่องที่มีขนาดและน้ำหนักเหมาะมือ ดีไซน์สวยงามน่าจับถือด้วยบอดี้เคลือบเงาไล่เฉดสี หยิบมาใช้ได้อย่างมั่นใจไม่ตกเทรนด์ ส่วนอินเทอร์เฟซภายในซึ่งเป็น Funtouch OS 10 ก็มีการปรับปรุงใหม่โดยเปลี่ยนรูปแบบการควบคุมให้เหมือนกับสมาร์ทโฟน Android รุ่นอื่น ทำให้ใช้งานง่ายขึ้นด้วย

ในส่วนของคุณสมบัติโดยรวม ดูเหมือนว่า Vivo จะมีแนวทางการพัฒนาสมาร์ทโฟนที่แตกต่างจากเจ้าอื่นๆ เพราะในขณะที่วงการมือถือระดับกลางแข่งกันอัดสเปกแรงๆ Vivo กลับ โฟกัสไปที่ประสบการณ์ของผู้ใช้ อย่าง หน้าจอแสดงผล, ความอึดของแบตเตอรี่ และกล้อง โดยเลือกใช้หน้าจอที่รองรับขอบเขตสี DCI-P3 100% ซึ่งพบได้ไม่บ่อยในสมาร์ทโฟนระดับกลาง ทำให้แสดงเฉดสีได้มากขึ้น ส่งผลให้การรับชมคอนเทนต์ความบันเทิงต่างๆ มีอรรถรสมากขึ้น และเลือกใช้ชิปเซ็ต Qualcomm Snapdragon 665 (Octa-Core) แทนที่จะเป็น Snapdragon 712 หรือ 765G อย่างที่กำลังนิยมกันในตลาดชั่วโมงนี้ ถึงแม้จะไม่แรงเท่า แต่ก็แรงพอที่จะมอบประสบการณ์การใช้งานที่ลื่นไหลให้กับผู้ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทั่วไป หรือแม้แต่การเล่นเกม โดยชดเชยด้วยแบตเตอรี่ที่อึดกว่าด้วยความจุ 5,000 mAh และฟีเจอร์กล้องอย่าง Super Night Mode ที่ใช้ได้ทั้งกล้องหน้า และกล้องหลัง กับระบบกันสั่น Ultra Stable Video นอกจากนี้ ยังให้หน่วยความจำ RAM มาถึง 8GB ซึ่งนับว่าเหลือเฟือสำหรับการทำงานของสมาร์ทโฟนระดับกลาง

ด้านการถ่ายรูป ชุดกล้องหลังของ Vivo Y50 อาจมีคุณสมบัติที่ไม่หวือหวา แต่ก็มาครบทุกระยะ โดยเป็นกล้องหลัก ( Wide ) ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล, กล้อง Super Wide Angle ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล และกล้อง Macro กับ Bokeh ความละเอียดตัวละ 2 ล้านพิกเซล แต่ซอฟต์แวร์สามารถประมวลผลภาพออกมาได้ดีไม่แพ้สมาร์ทโฟนที่ใช้กล้อง 48 หรือ 64 ล้านพิกเซล ส่วน กล้องหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ก็มีเอฟเฟกต์บิวตี้ที่ดูเป็นธรรมชาติ แต่ทั้งนี้โหมดกลางคืน Super Night Mode จะเพิ่มแสงให้กับภาพค่อนข้างมากจนบางครั้งทำให้ภาพฟุ้ง จึงต้องมีเทคนิคในการถ่ายเล็กน้อยโดยให้โฟกัสไปบนจุดที่สว่างที่สุดก่อนแล้วค่อยถ่าย แสงจะออกมาพอดีครับ

สำหรับการเล่นเกม Vivo Y50 มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับกลางๆ เล่นเกมส่วนใหญ่บน PlayStore ได้แบบลื่นๆ ถ้าไม่ปรับกราฟิกจนสุด บางเกมอาจมีหน่วงช่วงโหลดฉากบ้าง แต่ระหว่างเกมลื่นไหลไม่มีปัญหา นอกจากนี้ยังมี Ultra Game Mode ที่ช่วยเร่งประสิทธิภาพขณะเล่นเกม และปิดกั้นการโทร รวมถึงแจ้งเตือนต่างๆ แต่ต่างจากแบรนด์อื่นๆ คือ Ultra Game Boost ไม่ได้เป็นแอปพลิเคชันแยก แต่เป็นฟีเจอร์ในระบบที่ทำงานเองโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดเกม มีตัวเลือกการตั้งค่าเยอะ แต่ต้องตั้งค่าแยกเป็นเกมๆ ไป ทำให้ยุ่งยากเล็กน้อย โดยรวมถือว่าเล่นเกมได้ในระดับที่ไม่หงุดหงิด แต่ทั้งนี้ Vivo Y50 นั้นอาจไม่ได้มีชิปเซ็ตที่โดดเด่นนักเมื่อเทียบกับคู่แข่งในราคาใกล้เคียงกัน

ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมา หากต้องการสมาร์ทโฟนที่มีสเปกดีครบเครื่องในช่วงราคาไม่เกิน 8 พันบาท ที่กล้องสวย แบตอึด และใช้งานทั่วไปได้ลื่นๆ Vivo Y50 เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ไม่น่าจะทำให้ผิดหวังครับ

สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณ Vivo ประเทศไทย ที่ให้ความไว้วางใจส่งเครื่อง Vivo Y50 มาให้ทางทีมงานได้รีวิวกันในโอกาสนี้ครับ

จุดเด่นของ Vivo Y50

- ดีไซน์ตัวเครื่องไล่เฉดสีต่างกันตามมุมที่แสงตกกระทบ พร้อมลายสะท้อนแสงแบบ 3D Micro Arc ทำให้ตัวเครื่องมีความหรูหรา และน่าใช้งานยิ่งขึ้น - ตัวเครื่องขนาด 162.04×76.46×9.11 มิลลิเมตร น้ำหนัก 197 กรัม - หน้าจอแสดงผลแบบ Ultra O Screen (IPS LCD) ขนาด 6.53 นิ้ว ความละเอียดระดับ Full HD+ (2340x1080 พิกเซล) ในอัตราส่วนการแสดงผลแบบ 19.5:9 พร้อมพื้นที่แสดงผล 90.77% , รองรับช่วงสีแบบ DCI-P3 ได้ 100% และมีระดับความสว่างสูงสุด 800 nit - ชิปเซ็ตประมวลผล Qualcomm Snapdragon 665 แบบ 8-แกน (Octa-Core) ความเร็ว 2.0 GHz - หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) แบบ Adreno 610 - หน่วยความจำแรม (RAM) ขนาด 8 GB แบบ LPDDR4X - หน่วยความจำภายใน (ROM) ขนาด 128 GB - ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการ Android 10 พร้อมครอบทับด้วย FunTouch OS10

- เทคโนโลยี Multi-Turbo 3.0 ประกอบด้วย VPG (Vivo Process Guardian), Center Turbo และ AI Turbo

- กล้องดิจิทัลด้านหลัง 3 ตัว (Triple Camera) ประกอบด้วย

> กล้องหลัก ( Wide ) ความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.2 > กล้อง Super Wide Angle ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มุมมองกว้างสุด 120 องศา พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.2 > กล้อง Macro ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 4 เซนติเมตร พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.4 > กล้อง Bokeh ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล พร้อมรูรับแสงขนาด f/2.4

ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติแบบ PDAF พร้อมระบบวิเคราะห์ภาพถ่ายด้วย AI, รองรับมุมมองกว้างพิเศษ (Super Wide Angle) , เอฟเฟกต์เบลอฉากหลัง, โหมด Super Macro สำหรับถ่ายภาพระยะประชิด, โหมดพาโนราม่า และโหมดโปร รวมทั้งรองรับการถ่ายวิดีโอความละเอียดสูงสุด Full HD 1080p และมีระบบป้องกันการสั่นแบบ Ultra Stable Video

- กล้องดิจิทัลด้านหน้าความละเอียด 16 ล้านพิกเซล (f/2.0) มีเอฟเฟกต์บิวตี้ปรับแต่งใบหน้าให้สวยงามได้อย่างละเอียดและมีไกด์แนะนำท่าโพส รองรับการถ่ายวิดีโอความละเอียดสูงสุด FullHD 1080p

- เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ด้านหลังตัวเครื่อง - ฟีเจอร์ปลดล็อกด้วยใบหน้า - แบตเตอรี่ความจุ 5,000 mAh - ฟีเจอร์ Ultra Game Mode บล็อกการแจ้งเตือน Pop-up ต่างๆ พร้อมกับเร่งประสิทธิภาพการทำงานของตัวเครื่องขณะเล่นเกม - พอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB Type-C พร้อมรองรับ OTG (USB On-the-Go) - รองรับการใช้งานร่วมกับระบบดาวเทียมนำร่องแบบ GPS+A-GPS, BeiDou, GLONASS และ Galileo - รองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทางระบบ Wi-Fi 2.4GHz/5GHz, 4G/4G+, 3G, EDGE และ GPRS - เทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายระยะใกล้แบบ Bluetooth 5.0 - รองรับการใช้งานแบบ 2 ซิมการ์ด (Dual SIM-Dual Standby) - ช่องหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร - ตัวเครื่องมีให้เลือก 2 สี ได้แก่ สีน้ำเงินอมม่วง Iris Blue และ สีดำ Starry Black - ราคา 7,999 บาท ถือว่าเป็นราคาที่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับคุณสมบัติโดยรวม

จุดที่อาจจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมของ Vivo Y50

- ไม่มีระบบชาร์จแบตเตอรี่ความเร็วสูง - ไม่มีหูฟังแถมมาให้ - วัสดุที่ใช้ผลิตกรอบตัวเครื่องไม่ใช่โลหะ

Leave a Comment